สารจากประธานกรรมการ

ประเทศไทย

สรุปภาพรวมของปี 2566

เศรษฐกิจไทยเติบโตร้อยละ 1.9 ในปี 2566 ลดลงจากร้อยละ 2.6 ในปี 2565 โดยมีสาเหตุหลักจากการปรับตัวลดลงของการส่งออก การใช้จ่ายของรัฐบาลที่ด้อยประสิทธิภาพ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ภาคบริการยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทย จากการกลับเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการใช้จ่ายในประเทศที่ฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดโควิด-19

แนวโน้มปี 2567

UOB Global Economics & Market Research (GEMR) คาดเศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 3.6 ในปี 2567 จากความคาดหวังว่าการส่งออกจะเติบโตเป็นบวก และการใช้จ่ายของรัฐบาลเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากหายไปในช่วงการเลือกตั้งปี 2566

ภาคบริการจะยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ ได้รับแรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวในปี 2567 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 35 ล้านคน เทียบกับ 28 ล้านคนในปี 2566 ในเดือนมกราคม ปี 2566 ข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 3.03 ล้านคน (เติบโตร้อยละ 42) และนักท่องเที่ยวจีนอยู่ที่ 0.50 ล้านคน (เติบโตร้อยละ 454) จำนวนดังกล่าวไม่เพียงแค่สนับสนุนเป้าหมายของ ททท. แต่ยังเป็นการเพิ่มอัพไซด์ต่อเป้าหมายของ ททท. ซึ่งเป็นบวกต่อกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

เราคาดธนาคารแห่งประเทศไทยจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.50 ตลอดทั้งปี 2567

สภาวะตลาดหลักทรัพย์โดยรวมปี 2566

SET Index ปรับลดลงร้อยละ 15.15 ในปี 2566 จากการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า และการปรับลดกำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะกลุ่มพลังงานที่ถูกกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง

ในด้านผลตอบแทนของรายอุตสาหกรรม มีเพียง 2 อุตสาหกรรมเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจให้บริการเฉพาะกิจ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.54) และกลุ่มอิเล็กทรอกนิกส์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.37)

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด ได้แก่ กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร (ลดลงร้อยละ 37.42) โดยหลักถูกกดดันจากการฉ้อโกงของหุ้น STARK (ลดลงร้อยละ 99.2) กลุ่มบรรจุภัณฑ์ (ลดลงร้อยละ 34.95) และกลุ่มสื่อ (ลดลงร้อยละ 20.41)

ในปี 2566 กลุ่มนักลงทุนที่ซื้อสุทธิ ได้แก่ นักลงทุนรายย่อยในประเทศ (116 พันล้านบาท) และนักลงทุนสถาบันในประเทศ (81 พันล้านบาท) ขณะกลุ่มนักลงทุนที่ขายสุทธิ ได้แก่ นักลงทุนต่างชาติ (192 พันล้านบาท) และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (5 พันล้านบาท)

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

กำไรสุทธิของบริษัทลดลงจาก 217,211,672 บาท เป็น 90,859,956.34 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษี และเงินปันผลสำหรับงวดปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ในอัตรา 0.04 บาทต่อหุ้นจะเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติต่อไป

แนวโน้มตลาดหุ้นและธุรกิจปี 2567

ปี 2567 เราคาดตลาดหุ้นไทยจะแกว่งออกข้าง ขณะที่การเร่งตัวขึ้นของการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) จะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญต่อแนวโน้มกำไรของบริษัทต่างๆ ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และไทยจะส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า และจำกัดการไหลเข้าของเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนของตลาดหุ้นไทยในปี 2567 จะเป็นวิธี bottom-up และการเลือกซื้อหุ้นเป็นรายตัว

ธีมการลงทุนในปี 2567 ได้แก่ 1) หุ้นที่มีระดับหนี้สินต่ำ และมีกระแสเงินสดที่จับต้องได้ 2) หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า เช่น กลุ่มส่งออก (อาหารและอิเล็กทรอนิกส์) และกลุ่มบริการ (ท่องเที่ยวและโรงพยาบาล) และ 3) กลุ่มหุ้นปลอดภัย (Defensive plays) เช่น กลุ่มสาธารณูปโภคและสื่อสาร

คำขอบคุณ

ในนามของคณะกรรมการบริษัท ขอขอบคุณลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน ทีมผู้บริหาร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ได้ให้ความไว้วางใจ ความช่วยเหลือ และการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดมา

นายวิโรจน์ ตั้งเจตนาพร
ประธานกรรมการ
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน ( ประเทศไทย ) จำกัด (มหาชน)

-

วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมายหรือกลยุทธ์ในการดำเนินงาน

วิสัยทัศน์ : ตัวแทนทางการเงินที่เชื่อถือได้ของคุณ “Your trusted financial partner”

ค่านิยม : บริษัทมุ่งมั่นในการสร้าง 4 ค่านิยมพื้นฐาน 1) ความเคารพนับถือ 2) ความซื่อสัตย์ 3) การสื่อสาร 4) ความเป็นเลิศ การลงทุนอย่างมีเป้าหมาย “Investing With Purpose”

พันธกิจ : มุ่งให้บริการเพื่อความสำเร็จทางการเงินอย่างต่อเนื่อง สู่ผู้นำในธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับความพึงพอใจสูงสุด

วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย :
  • - การให้บริการที่มีคุณภาพสูงสุด
  • - ติดต่อกับลูกค้าอย่างมืออาชีพ ให้บริการถูกต้องตรงเวลา
  • - พัฒนาทักษะและความเป็นมืออาชีพของพนักงาน
  • - ปฏิบัติหน้าที่โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคม

กลยุทธ์ในการดำเนินงาน : บริษัทฯ มุ่งให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ UTRADE โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า สามารถใช้งานง่ายพร้อมกับสรรหาเครื่องมือ บทวิเคราะห์ และการจัดอบรมสัมมนาอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแสวงหากำไรด้วยเครื่องมือที่ใช้งานง่าย และลูกค้ายังสามารถรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมในเชิงลึกทั้งแนวโน้มตลาดและโอกาสในการลงทุนจากนักวิเคราะห์มืออาชีพผ่านมุมมองที่หลากหลายและเป็นสากล โดยบริษัทฯ มุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างความรู้และพัฒนาแนวคิด มุมมองความเป็นไปได้ในด้านการลงทุนให้กับลูกค้า และบุคคลทั่วไปผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการลงทุน บริษัทฯ มีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่เป็นธรรมและเหมาะสม พร้อมกับจัดเตรียมเครื่องมือ บทวิเคราะห์ และการนำเสนอแหล่งความรู้ให้แก่นักลงทุน

นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ

        บริษัทได้พัฒนาแผนธุรกิจซึ่งจะทบทวนทุกปีเพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มุ่งมั่นที่จะสร้างโหมดธุรกิจที่ยั่งยืนซึ่งคำนึงถึงความต้องการในการแข่งขัน ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า เคารพผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

        การจัดทำแผนธุรกิจระยะกลาง บริษัทฯ พิจารณาถึงสภาพแวดล้อม ภาวะเศรษฐกิจ และการเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งปัจจัยภายใน โดยผู้บริหารจะพิจารณากำหนดแนวทางขององค์กรและจัดทำแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และค่านิยมขององค์กร

        บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) เดิมชื่อ บริษัทหลักทรัพย์ มหาสมุทร จํากัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2541 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 250 ล้านบาท การจัดตั้งบริษัทเป็นผลมาจากการแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกันของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มหาสมุทร จำกัด บริษัทฯ รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์ รวมทั้งสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมายเลข 26 จากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มหาสมุทร จํากัด และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

        ในปี 2543 บริษัทหลักทรัพย์ มหาสมุทร จํากัด จำหน่ายหุ้นให้ทาง ยูไนเต็ด อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มยูโอบี ที่ประเทศสิงคโปร์ และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี (ประเทศไทย) จํากัด ต่อมามีการรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างกลุ่มธนาคารยูโอบี กับ กลุ่ม เคย์เฮียน โฮลดิ้งส์ เป็น ยูโอบี-เคย์เฮียน โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด ทำให้ในปี 2544 มีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นใหม่โดย ยูไนเต็ด อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ด ได้ขายหุ้นที่ถือทั้งหมดให้กับ ยูโอบี-เคย์เฮียน โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด ทำให้ ยูโอบี-เคย์เฮียน โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด ถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 99.99 ของหุ้นที่จําหน่ายได้ทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จํากัด หลังจากนั้นในปีเดียวกัน บริษัทฯ ได้ซื้อธุรกิจรายย่อยจากบริษัทหลักทรัพย์ บีเอ็นพี พาริบาส์ พีรีกรีน (ประเทศไทย) จำกัด และในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548 บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนโดยใช้ชื่อว่า บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

         ทั้งนี้ ยูโอบี-เคย์เฮียน โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ เป็นบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยมีบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในสิงคโปร์ มีสำนักงานในประเทศฮ่องกง มาเลเซีย ลอนดอน นิวยอร์ก จาการ์ต้า เซี่ยงไฮ้ และมะนิลา นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทในเครือของยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงค์ ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในสิงคโปร์ มีสาขาในประเทศไทย คือ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) จากความสัมพันธ์และเครือข่ายที่กว้างขวางดังกล่าวทำให้บริษัทฯ สามารถขยายฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้อย่างกว้างขวาง

        บริษัทฯ ยังได้รับการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์จากบริษัทในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการทำสัญญาการให้บริการ (Service Agreement) กับ ยูโอบี เคย์เฮียน ไพรเวท ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ยูโอบี-เคย์เฮียน โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด โดยการให้บริการครอบคลุมด้านต่างๆ หลายด้าน (รายละเอียดของสัญญาให้บริการและค่าธรรมเนียมการให้บริการสามารถดูได้ใน รายการระหว่างกัน) จากที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ได้รับความช่วยเหลือตามสัญญาให้บริการ เช่น ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกันภายในกลุ่มยูโอบี เคย์เฮียน ช่วยแนะนำในการติดตั้งระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งพัฒนาระบบต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่อง การจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานสากล

ปี 2548

        ตั้งแต่ปี 2548 บริษัทฯ ยังได้รับการสนับสนุนทางด้านการตลาดและการดำเนินโครงการ Cross Selling ทำให้บริษัทฯ สามารถขยายการให้บริการทางด้านนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แก่ลูกค้าได้เพิ่มขึ้นจากการแนะนำลูกค้าผ่านบริษัทในกลุ่ม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับบริษัทในกลุ่ม เช่น การใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกันในงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ รวมถึงการให้บริษัทฯ สามารถเข้าถึงบทความวิเคราะห์หลักทรัพย์และสภาวะตลาดในต่างประเทศที่จัดทำขึ้นโดยบริษัทในกลุ่มเพื่อพัฒนางานวิจัยของบริษัทฯ

ปี 2553

        ปี 2553 บริษัทฯ รับโอนธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Brokerage Business) จากบริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นการรับโอนทรัพย์สินและผลประโยชน์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ โดยบริษัทฯ ได้ออกและจัดสรรหุ้นสามัญที่ออกใหม่ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจของบริษัทฯ

ปี 2554

        ปี 2554 บริษัทฯ รับโอนธุรกิจหลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) (“ยูไนเต็ด”) ซึ่งรวมถึง สิทธิ ประโยชน์และผลประโยชน์ที่จะได้มา จะจ้าง หรือจะทำสัญญา เกี่ยวกับการให้บริการเป็นการเฉพาะของที่ปรึกษาการลงทุน ทรัพย์สินใด สิทธิการเช่าที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ทรัพย์สินในรูปของเงินสด ลูกหนี้การค้า และหนี้สินอื่นๆ แต่ไม่รวมถึงหนี้สินและภาระผูกพันของยูไนเต็ด ก่อนการซื้อขายสินทรัพย์ของยูไนเต็ด (“การรับโอนธุรกิจ”)

ปี 2556

        ปี 2556 บริษัทฯ ได้จำหน่ายไปซึ่งเงินลงทุนทั้งหมดในหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน)

ปี 2559

        บริษัทฯ ขยายธุรกิจรายย่อยโดยการทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สำหรับลูกค้ารายย่อยบางส่วน จากบริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวรวมถึงที่ปรึกษาการลงทุนและสำนักงานสาขา 21 แห่ง

ปี 2561

        บริษัทฯ ทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สำหรับลูกค้ารายย่อยบางส่วนจากบริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) ซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวรวมถึงที่ปรึกษาการลงทุน และสำนักงานสาขา 6 แห่ง และบริษัทฯ ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อเป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทฯ

ปี 2565

        ปี 2565 บริษัทฯ ขยายธุรกิจรายย่อยโดยการทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์รวมถึงที่ปรึกษาการลงทุนสำหรับลูกค้ารายย่อยบางส่วนจากบริษัทหลักทรัพย์ เอเชียเวลท์ จำกัด

โครงสร้างเงินทุน

จำนวนทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว

        บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เป็นเงิน 502,448,570 บาท และทุนชำระแล้วเป็นเงิน 502,448,570 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 502,448,570 หุ้น มีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท)

ผู้ถือหุ้น

        ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 บริษัทฯ มีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ยูโอบี - เคย์เฮียน โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ดถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 70.65 โดยมีรายละเอียดการถือหุ้นดังนี้

ลำดับ รายชื่อ จำนวนหุ้นที่ถือ (หุ้น) ร้อยละ
1. ยูโอบี-เคย์เฮียน โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด 355,000,000 70.654
2. ยูโอบี เคย์เฮียน ไพรเวท ลิมิเต็ด 86,547,734 17.225
3. นายโสภณ มิตรพันธ์พานิชย์ 24,246,448 4.826
4. นายวชิระ ทยานาราพร 10,000,000 1.990
5. UOB KAY HIAN (HONG KONG) LIMITED –
Client Account
3,195,000 0.636
6. นายศิรประเสริฐ จีระพรประภา 2,035,900 0.405
7. นางเนาวรัตน์ พินิจกุศลจิต 1,450,000 0.289
8. นางสาวอัญชนา พินิจกุศลจิต 1,400,000 0.279
9. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 1,048,064 0.209
10. นายอัศกุล ดวงโกศล 900,000 0.179
รวม 485,823,146 96.691

        ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ยูโอบี-เคย์เฮียน โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ มีทุนชำระแล้วจำนวน 319,307,481 เหรียญสิงคโปร์ หรือ 910,038,731 หุ้น (จำนวนหุ้นที่ซื้อคืน 10,000,000 หุ้น มูลค่า 13,897,707.07 เหรียญสิงคโปร์) มีรายละเอียดการถือหุ้นดังนี้

รายชื่อผู้ถือหุ้น 10 อันดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ร้อยละ จำนวนหุ้นที่ถือ
ไท่ หัว นอมินีส์ ไพรเวท ลิมิเต็ด 313,360,043 34.82
ยูโอบี เคย์เฮียน ไพรเวท ลิมิเต็ด 120,363,509 13.37
ยู.ไอ.พี โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด 98,306,346 10.92
นายตัง วี ล็อค 42,168,232 4.69
ซิตี้แบงค์ นอมินีส์ สิงคโปร์ ไพรเวท ลิมิเต็ด 22,939,916 2.55
ดีบีเอส นอมินีส์ ไพรเวท ลิมิเต็ด 16,167,986 1.80
รัฟเฟิลส์ นอมินีส์ (ไพรเวท) ลิมิเต็ด 13,288,639 1.48
ยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์แบงค์ นอมินีส์ ไพรเวท ลิมิเต็ด 10,393,203 1.15
ลิ้ม แอนด์ ตัน ซีเคียวริตี้ส์ ไพรเวท ลิมิตเต็ด 10,366,458 1.15
ยูโอบี-เคย์ เฮียน โฮลดิ้งส์ ลิมิตเต็ด – บัญชีซื้อหุ้นคืน 10,000,000 1.11
รวม 10 อันดับแรก 657,354,332 73.04
อื่นๆ 242,684,399 26.96
รวม 900,038,731 100.00

ข้อบังคับ

บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

-

แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1)

แบบฟอร์ม56-1

แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี / รายงานประจำปี 2566

แบบฟอร์ม56-1

แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี / รายงานประจำปี 2565

แบบฟอร์ม56-1

แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2564

แบบฟอร์ม56-1

แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2563

แบบฟอร์ม56-1

แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562

แบบฟอร์ม56-1

แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2561

แบบฟอร์ม56-1

แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2560

แบบฟอร์ม56-1

แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2559

แบบฟอร์ม56-1

แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2558

แบบฟอร์ม56-1

แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2557

รายงานงบประจำปี

บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

-

นโยบายการกํากับดูแลบริษัทที่ดี

บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ มีการกำกับดูแลกิจการและการบริหารจัดการที่ดีเลิศ โดยมุ่งสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย มีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ จึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้

1. บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการผู้นำที่สร้างคุณค่าให้แก่บริษัทอย่างยั่งยืน
     1.1 คณะกรรมการเข้าใจบทบาทและตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะผู้นำที่ต้องกำกับดูแลให้องค์กรมีการบริหารจัดการที่ดี มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การกำหนดกลยุทธ์ นโยบายการดำเนินงาน ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรสำคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย และมีการติดตาม ประเมินผล และดูแลการรายงานผลการดำเนินงาน
      1.2 การสร้างคุณค่าให้แก่บริษัทอย่างยั่งยืน คณะกรรมการกำกับดูแลบริษัทให้นำไปสู่ผล ดังต่อไปนี้
                (1) สามารถแข่งขันได้และมีผลประกอบการที่ดีโดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว
                (2) ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย
                (3) เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม
                (4) สามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
      1.3 คณะกรรมการมีหน้าที่ดูแลให้กรรมการทุกคนและผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริตต่อองค์กร และดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
      1.4 คณะกรรมการเข้าใจขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และกำหนดขอบเขตการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายจัดการอย่างชัดเจน ตลอดจนติดตามดูแลให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายจัดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

2. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของบริษัทเป็นไปเพื่อความยั่งยืนน
     2.1 คณะกรรมการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สอดคล้องกับการสร้างคุณค่าให้ทั้งบริษัท ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสียและสังคมโดยรวม
     2.2 คณะกรรมการกำกับดูแลให้มั่นใจว่า วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจนกลยุทธ์ของบริษัทสอดคล้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัท โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย

3. เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
3.1 คณะกรรมการรับผิดชอบในการกำหนดและทบทวนโครงสร้างคณะกรรมการ ทั้งในเรื่องขนาด องค์ประกอบ สัดส่วนกรรมการที่เป็นอิสระที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการนำพาองค์กรสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักที่กำหนดไว้
     3.2 คณะกรรมการเลือกบุคคลที่เหมาะสมเป็นประธานกรรมการ และดูแลให้มั่นใจว่า องค์ประกอบและการดำเนินงานของคณะกรรมการเอื้อต่อการใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจอย่างมีอิสระ
      3.3 การสรรหาและคัดเลือกกรรมการมีกระบวนการที่โปร่งใสและชัดเจน เพื่อให้ได้คณะกรรมการที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับองค์ประกอบที่กำหนดไว้
      3.4 ในการเสนอค่าตอบแทนคณะกรรมการให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติ โครงสร้างและอัตราค่าตอบแทนมีความเหมาะสมกับความรับผิดชอบและจูงใจให้คณะกรรมการนำพาองค์กรให้ดำเนินงานตามเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว
      3.5 กรรมการทุกคนมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ
      3.6 คณะกรรมการกำกับดูแลให้มีกรอบและกลไกในการกำกับดูแลนโยบายและการดำเนินงานของบริษัทที่บริษัทไปลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ ในระดับที่เหมาะสมกับบริษัท
      3.7 คณะกรรมการมีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ประจำปีของคณะกรรมการ
     3.8 คณะกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ลักษณะการประกอบธุรกิจ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ตลอดจนสนับสนุนให้กรรมการทุกคนได้รับการเสริมสร้างทักษะและความรู้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่กรรมการอย่างสม่ำเสมอ
     3.9 การดำเนินงานของคณะกรรมการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น และมีเลขานุการบริษัทที่มีความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการสนับสนุนการ ดำเนินงานของคณะกรรมการ

4. สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร
      4.1 คณะกรรมการมีการสรรหาและพัฒนาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูงให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย
      4.2 คณะกรรมการกำกับดูแลให้มีการกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนและการประเมินผลที่เหมาะสม
      4.3 คณะกรรมการเข้าใจโครงสร้างและความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้นที่อาจมีผลกระทบต่อการบริหารและการดำเนินงานของบริษัท
     4.4 คณะกรรมการติดตามดูแลการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้มีจำนวน ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และแรงจูงใจที่เหมาะสม

5. ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
     5.1 คณะกรรมการให้ความสำคัญและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าแก่ธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างคุณประโยชน์ต่อลูกค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
      5.2 คณะกรรมการติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและสะท้อนอยู่ในแผนดำเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทุกฝ่ายขององค์กรได้ดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก และแผนกลยุทธ์ของบริษัท
      5.3 คณะกรรมการติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดสรรและจัดการทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงผลกระทบและการพัฒนาทรัพยากรตลอดสายเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักได้อย่างยั่งยืน
      5.4 คณะกรรมการจัดให้มีกรอบการกำกับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กรที่สอดคล้องกับความต้องการของบริษัท รวมทั้งดูแลให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและพัฒนาการดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง เพื่อให้บริษัทสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายหลักของบริษัท

6. ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
     6.1 คณะกรรมการกำกับดูแลให้มั่นใจว่า บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิผล และมีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
      6.2 คณะกรรมการต้องจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและอิสระ
      6.3 คณะกรรมการติดตามดูแลและจัดการความขัดแย้งของผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างบริษัทกับ ฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้น รวมไปถึงการป้องกันการใช้ประโยชน์อันมิควรในทรัพย์สิน ข้อมูลและโอกาสของบริษัท และการทำธุรกรรมกับผู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับบริษัทในลักษณะที่ไม่สมควร       6.4 คณะกรรมการกำกับดูแลให้มีการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่ชัดเจน และสื่อสารในทุกระดับขององค์กรและต่อคนนอกเพื่อให้เกิดการนำไปปฏิบัติได้จริง
      6.5 คณะกรรมการกำกับดูแลให้บริษัทมีกลไกในการรับเรื่องร้องเรียนและการดำเนินการกรณีมีการชี้เบาะแส

7. รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
      7.1 คณะกรรมการมีความรับผิดชอบในการดูแลให้ระบบการจัดทำรายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา เป็นไปตามกฎเกณฑ์มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
      7.2 คณะกรรมการติดตามดูแลความเพียงพอของสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้
      7.3 ในภาวะที่บริษัทประสบปัญหาทางการเงินหรือมีแนวโน้มจะประสบปัญหา คณะกรรมการบริษัทมีแผนในการแก้ไขปัญหา หรือมีกลไกอื่นที่จะสามารถแก้ไขปัญหาทางการเงินได้ ทั้งนี้ ภายใต้การคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย
      7.4 คณะกรรมการพิจารณาจัดทำรายงานความยั่งยืนตามความเหมาะสม
      7.5 คณะกรรมการกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดให้มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบงานนักลงทุนสัมพันธ์ ที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียอื่น เช่น นักลงทุน นักวิเคราะห์ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เท่าเทียมกัน และทันเวลา
      7.6 คณะกรรมการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล

8. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
      8.1 ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัท
      8.2 การดำเนินการในวันประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเอื้อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิของตน
      8.3 การเปิดเผยมติที่ประชุมและการจัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน

นโยบายการบริหารความเสี่ยง

บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

บทนํา

    การรับความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งในพฤติกรรมการลงทุน จุดประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงนั้น ไม่ใช่เพื่อการลดความเสี่ยงออกไปทั้งหมด แต่เป็นกระบวนการในการบริหารเพื่อให้มั่นใจว่าแต่ละ หน่วยงานทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและจัดให้มีวิธีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม นอกจากนั้น ผู้บริหารจะใช้ความรู้ความเข้าใจในความเสี่ขงเหล่านี้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ

    จุดประสงค์ของน โยบายการบริหารความเสี่ยง คือ การสื่อสารให้ทุกหน่วยงานเข้าใจกรอบการ บริหารความเสี่ยง และแนวทางในการบริหารความสี่ขงให้อยู่ในระดับที่ขอมรับได้ เพื่อให้มั่นใจว่าแต่ละ หน่วยงานมีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การรายงานความเสี่ยง การควบคุมความเสี่ยง และ การติดตามความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

นโยบายการบริหารความเสี่ยง

    บริษัทฯ เชื่อว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักที่จะช่วยให้บริษัทฯ บรรลุเป้าหมายได้ บริษัทฯ มีการดูแลให้แต่ละหน่วยงานปฏิบัติตามกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ในการจัดการกับ ความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยมีการระบุ ติดตาม และรายงานความเสี่ยงต่อผู้บริหาร เพื่อจะได้จัดให้มีการ ควบคุมความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะได้ตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้อง

    บริษัทฯ กำหนดนโขบายการบริหารความเสี่ยงโดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ กฎหมาย และความถูกต้องของการรายงานงบการเงิน ไม่ว่าจะในระดับบริษัทฯ เอง หรือในระดับหน่วยงาน นอกจากนี้ แนวทางบริหารความเสี่ยง ยังได้ทำควบคู่ไปกับการกำกับดูแลกิจการแลระบบการควบคุมภายใน ที่ดีของบริษัทฯ

    บริษัทฯ ใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดย คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นผู้ดูแลแลรับผิดชอบ ความเสี่ยงจากระดับบนลงล่าง โดยมีบทบาทหน้าที่ในการ

    ก) กำหนดนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง
    ข) ประเมินความเหมาะสมของน โบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และ
    ค) ดูแลให้มีการนำนโขบายกรบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในไปปฏิบัติจริงและเพื่อที่จะ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงนี้ได้

    คณะกรรมการตรวจสอบ มีบทบาทหน้าที่ในการประเมินความพอเพียงของน โยบายการบริหาร ความเสี่ยงและให้คำแนะนำต่อกณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหาร

    ศูนย์กลางการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ คือ คณะกรรมการบริหาร โดยคณะกรรมการบริหารมี บทบาทหน้าที่ในการติดตามและควบคุมความเสี่ยงหลักและปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบอย่างมี นัยสำคัญต่อบริษัทฯ คณะกรรมการบริหารเป็นศูนย์รวมการบริหารความเสี่ยงเพราะมีศักยภาพในการเข้าถึง ทุกหน่วยงานภายในบริษัท

    พนักงานทุกคนในบริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนซึ่งอาจส่งผล กระทบต่อบริษัทฯ โดยรวม ทั้งนี้ วิธีการบริหารความเสี่ยงจากระดับล่างขึ้นบน คือการที่บริษัทฯ มอบหมาย ให้แต่ละหน่วขงานดำเนินการประเมินความเสี่ยงและเสนอวิธีการจัดการและควบกุมความเสี่ยงเหล่านั้นเอง โดยบริษัทฯ ได้ให้มีการจัดอบรมเพื่อให้ทุกหน่วยงานเข้าใจถึงกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่ง มีวัดถุประสงค์เพื่อช่วยให้แต่ละหน่วขงานเรียนรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นภายในหน่วยงาน ของตน และสามารถควบคุมและจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในกรอบความเสี่ยงที่แต่ละหน่วยงานยอมรับได้

    นอกจากนั้น คณะกรรมการบริษัทยังได้ตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีหน้าที่รวบรวมความเสี่ยงของแต่ละหน่วยงานและประเมินความเสี่ยงของบริษัท และขังมีหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการตามกรอบการบริหารความเสี่ยง และรายงานต่อคณะกรรมการ บริษัท ทุกปี

    นอกจากบทบาทหน้าที่ในการประเมินความมีประสิทธิภาพและความเชื่อถือได้ของระบบการ ควบคุมภายในแล้วฝ่ายตรวจสอบภายในยังมีบทบาทที่สำคัญในการตรวจสอบกระบวนการ บริหารความ เสี่ยงอย่างเป็นอิสระ

    กรอบการบริหารความเสี่ยงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบริหาจัดการเชิงกล ยุทธ์ของบริษัทฯ และออกแบบมาเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีการบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอและเหมาะสม

    คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติน โยบายบริหารความเสี่ยงและกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ๆ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีการจัดการและการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเป็นไป ในรูปแบบเดียวกัน นอกจากนั้นยังได้มอบหมายให้กณะกรรมการบริหารติดตามและควบคุมให้แต่ละ หน่วยงานบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในกรอบการบริหารความเสี่ยงที่กำหนดไว้

    กรอบการบริหารความเสี่ยงนี้สามารถช่วยในการติดตามเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจสามารถบรรลุ วัตถุประสงค์ในค้านการรายงานและตรวจสอบตามที่กำหนดไ ว้ สำหรับวัตถุประสงค์ในด้านกลยุทธ์และการ ดำเนินงานซึ่งได้รับผลจากปัจัยภายนอก กรอบการบริหารความเสี่ยงถูกออกแบบเพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหาร และคณะกรรมการบริษัทได้ทราบความคืบหน้าของการดำเนินการของแต่ละหน่วยงานในการปฏิบัติตาม วัตถุประสงค์ต่างๆ

    1. การกำหนดความเสี่ยง เพื่อระบุปัจจัยความไม่แน่นอนซึ่งมีผลกระทบในแง่ลบต่อองค์กร บริษัท ฯ ได้พัฒนาขั้นตอนและวิธีการในการระบุปัจจัยความเสี่ยงซึ่งบริษัทฯ และแต่ละหน่วยงานมี หน้าที่ระบุปัจัขความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยจะมีการตรวจสอบปัจจัยเหล่านี้เป็น ประจำทุกปี นอกจากนี้ บริษัทฯ จะรวบรวมความเสี่ขงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยจะมีการ ตรวจสอบปัจจัยเหล่านี้เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ บริษัทฯ จะรวบรวมความเสี่ยงและ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้เห็นภาพรวมความเสี่ยงของกลุ่มบริษัท โดยจะแบ่งประเภทของ ความเสี่ขงออกเป็น 4 ประเกทด้วยกัน คือ ความเสี่ขงค้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงค้านการปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงค้านการปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมาย โดยบริษัทฯ เชื่อว่าการบริหารความเสี่ยงด้วยตนเองนั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด
     2. การประเมินความเสี่ยง บริษัทฯ และแต่ละหน่วยงานได้จัดทำ "แผนผังความเสี่ยง" ขึ้น โคย แผนผังความเสี่ยงนี้จะสรุปความเสี่ยงหลักซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเป้าหมายและผลการ ดำเนินงานของบริษัท เช่น ผลประกอบการและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ ความ เสี่ยงที่มีผลกระทบเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้ จะถือว่าเป็นความเสี่ยงหลักซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ จะถูกวิเคราะห์และประมาณการในแง่โอกาสในการเกิดและความร้ายแรงของผลกระทบ
     3. การรายงานความเสี่ยง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการรายงานความเสี่ยงนั้นมีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อการบริหารความเสี่ยง ซึ่งการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยส่งเสริมกระบวนการ รายงานความเสี่ขงให้มีประสิทธิภาพ บริษัทฯ กำหนดให้แต่ละหน่วยงานจัดทำรายงานเพื่อสรุป ตัวชี้วัดที่จำเป็นต่อการติดตามความเสี่ยงของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ
     4. การควบคุมความเสี่ยง บริษัทฯ และแต่ละหน่วยงานมีการจัดทำขั้นตอนและวิธีการบริหารความ เสี่ยงเพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้ สำหรับความเสี่ยงที่ยังสูงกว่า ระดับที่กำหนดไว้แต่ละหน่วยงานจะเสนอมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงเพิ่มเติมพร้อมกับ การศึกษาประ โชชน์และค่ใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และปฏิบัติตามมาตรการนั้นเมื่อได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการบริษัท
     5. การติดตามความเสี่ยง การติดตามความเสี่ยงนี้จะเกี่ยวข้องกับทั้งการประเมินความเสี่ยงและการ ประเมินระบบที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงมี ประสิทธิภาพอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในจะมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม โดยแต่ละหน่วยงานจะจัดทำรายงานเพื่อสรุปตัวชี้วัดพร้อมเกณฑ์ที่จะบ่งชี้ว่าธุรกิจได้รับหรือ อาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อติดตามและเฝ้าระวัง ความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด กรณีที่ตัวชี้วัดถึงเกณฑ์ที่กำหนด หน่วยงานจะต้องแข้งผู้บริหารเพื่อ จัดการกับความเสี่ยงนั้นทันที นอกจากนั้น แต่ละหน่วยงานจะรายงานการประเมินการบริหาร ความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทุกไตรมาส และคณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ใน การประเมินความน่าเชื่อถือของกระบวนการบริหารความเสี่ยงโดยรวมเป็นประจำทุกปี ผ่าน การประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน

-

หนังสือมอบฉันทะ แบบ ก.

หนังสือมอบฉันทะ แบบ ข.

หนังสือมอบฉันทะ แบบ ค.

ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์

ข่าวสารของ UOBKH : บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการประชุมผู้ถือหุ้น

บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ( “บริษัทฯ” ) ให้ความสำคัญและเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในฐานะผู้ถือหุ้น ผู้รับมอบอำนาจ หรือผู้รับมอบฉันทะ โดยได้กำหนดนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการดำเนินงานของบริษัทฯ ด้วยมาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านได้มั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทฯ ได้รับจะถูกนำไปใช้ตรงตามความต้องการของท่านและถูกต้องตามกฎหมาย

บริษัทฯ ขอแจ้งให้ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ทราบถึงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการเก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนสิทธิตามกฎหมายของท่านที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้

“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุตัวตนของท่านได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ เก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผย

บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อประโยชน์ในการจัดประชุมผู้ถือหุ้น และการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อายุ วันเดือนปีเกิด เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ เลขที่บัญชีเงินฝาก ข้อมูลการติดต่อ เช่น ที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรสาร อีเมล หมายเลขไอพี (IP Address) ข้อมูลการบันทึกเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลอื่นใดที่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จำเป็นต้องขอให้ส่งภาพถ่าย และ / หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของท่านเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน ซึ่งข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนอาจมีข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อน เช่น ศาสนา ปรากฎอยู่ และโดยที่บริษัทฯ ไม่มีเจตนาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อนจากท่าน จึงขอความร่วมมือจากท่านปิดทึบข้อมูลในส่วนนั้นก่อนให้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแก่บริษัทฯ

วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายในการเก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะเก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเท่าที่จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย หรือมีฐานทางกฎหมายรองรับ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย (Legal Obligation) เช่น การเรียกประชุมและการดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้น การยืนยันตัวตน การจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการดำเนินการใดๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้อง หรือการดำเนินงานที่จำเป็นภายใต้ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทฯ หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น (Legitimate Interest) เช่น การจัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ถ่ายทอดภาพและเสียงสำหรับการประชุม การบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวการประชุมเพื่อใช้เป็นหลักฐานของการประชุม การประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การรักษาความปลอดภัย รวมถึงเพื่อการอื่นใดที่จำเป็นโดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน และไม่เกินขอบเขตที่ท่านสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล

แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากท่านโดยตรง และ / หรือ อาจเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากนายทะเบียนหลักทรัพย์ เช่น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นด้วยวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดในนโยบายการคุ้มครองข้อมูลฉบับนี้ เช่น กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ศาล ผู้ประมวลผลข้อมูล ผู้ให้บริการภายนอก ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดูแลให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นผู้รับข้อมูลดังกล่าวเก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่กำหนดในนโยบายฉบับนี้

ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้ตามระยะเวลาที่จำเป็นในระหว่างที่ท่านเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ หรือตลอดระยะเวลาที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ต่อไปภายหลังจากนั้นหากมีกฎหมายกำหนดหรืออนุญาตไว้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ทั้งนี้ บริษัทฯ จะมีการดำเนินการในขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุถึงตัวตนของท่านได้เมื่อหมดความจำเป็นหรือสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้เป็นอย่างดีตามมาตรการเชิงเทคนิค (Technical Measure) และมาตรการเชิงบริหารจัดการ (Organizational Measure) เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม และเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น มาตรฐานความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับข้อมูลไปจากบริษัทฯ ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลนอกวัตถุประสงค์ หรือโดยไม่มีอำนาจหรือโดยไม่ชอบ บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นระยะๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

นอกจากนี้ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง ผู้รับจ้าง ตัวแทน ที่ปรึกษา และผู้รับข้อมูลจากบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรการรักษาความลับที่บริษัทฯ กำหนด

สิทธิของท่านเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

สิทธิของท่านเป็นสิทธิตามกฎหมาย อาทิ สิทธิขอถอนความยินยอม สิทธิขอเข้าถึงข้อมูล สิทธิขอถ่ายโอนข้อมูล สิทธิขอคัดค้าน สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูล สิทธิร้องเรียน โดยท่านสามารถขอใช้สิทธิต่างๆ ได้ ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายและที่กำหนดไว้ในขณะนี้หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมในอนาคตตลอดจนหลักเกณฑ์ตามที่บริษัทฯ กำหนดขึ้น ในกรณีท่านมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมตามกฎหมาย ท่านสามารถขอใช้สิทธิโดยให้บิดาและมารดา ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทน เป็นผู้แจ้งความประสงค์

การใช้สิทธิของท่านข้างต้น อาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และบางกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่บริษัทฯ อาจปฏิเสธหรือไม่สามารถดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิข้างต้นของท่านได้ เช่น ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล เพื่อประโยชน์สาธารณะ การใช้สิทธิอาจละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เป็นต้น หากบริษัทฯ ปฏิเสธคำขอข้างต้น บริษัทฯ จะแจ้งเหตุผลของการปฏิเสธให้ท่านทราบ

วิธีการการติดต่อบริษัทฯ และ / หรือ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หากท่านมีข้อเสนอแนะ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการเก็บรวบรวม ใช้ และ / หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงการขอใช้สิทธิ ท่านสามารถติดต่อบริษัทฯ และ / หรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านช่องทางดังนี้

โทร 02-6598000 ต่อ 8427

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

อีเมล: legal@uobkayhian.co.th

บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เลขที่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

นโยบายการจ่ายเงินปันผล

บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ ที่เหลือหลังหักเงินสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามกฎหมาย โดยที่การจ่ายเงินปันผลเป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น

ราคาหลักทรัพย์บริษัท

ข้อมูลราคาหลักทรัพทย์บริษัทรายวัน UOBKH : บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

UTRADE Newsletter